การวางผังโรงงาน
การวางผังโรงงานตามแบบกระบวนการผลิต
1. ผังตามกระบวนการผลิต (Process Layout) เป็นการวางเครื่องจักรให้เป็นหมวดหมู่ตามลักษณะ
ของกระบวนการผลิต เช่น เครื่องตัด เครื่องปั๊ม เครื่องบรรจุหีบห่อ
การวางผังตามกระบวนการนี้ สินค้าที่
ผลิตจะต้องเคลื่อนย้ายไปตามกระบวนการต่างๆ ตามขั้นตอนในการผลิตสินค้านั้น
ดังภาพที่ 1 แสดงผัง
ตามกระบวนการผลิต ซึ่งเหมาะสำหรับการผลิตประเภทไม่ต่อเนื่อง
หรือการผลิตตามคำสั่ง นอกจากการ
วางผังกระบวนการผลิตในโรงงานแล้ว ยังมีการวางผังตามกระบวนการผลิตที่พบโดยทั่วไป
คือ
โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ธนาคาร และห้องสมุด โรงพยาบาลมีแผนกต่างๆ
เช่นแผนกทันตกรรม แผนก
สูตินารีเวช แผนกอายุรเวช แผนกการเงิน แผนกจ่ายยา เป็นต้น
ซึ่งคนไข้จะต้องไปตามแผนกต่างๆ ที่จะ
ให้บริการเองดังรูปที่1
แผนกจ่ายยา
|
แผนกทันตกรรม
|
แผนกอายุกรรม
|
แผนกจักรษุ
|
ประชาสัมพันธ์
|
แผนกจ่ายเงิน
|
แผนกสูตินารี
|
แผนกกุมารเวช
|
ห้องตรวจ X - Ray
|
รูปที่
1 แสดงผังโรงงานแบบกระบวนการผลิต
ข้อดีของการวางผังตามกระบวนการผลิต
1. สามารถใช้แรงงานคนและเครื่องจักรในแต่ละแผนกได้อย่างเต็มที่
2. ระบบการผลิตมีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิต
หรือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ
ของผลิตภัณฑ์ หรือออกผลิตภัณฑ์ใหม่
3. ทำให้ลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์น้อยลง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมีหลายๆ
ชนิดที่สามารถ
ใช้เครื่องมือ เครื่องจักรชนิดเดียวกัน
ข้อเสียของการวางผังโรงงานตามกระบวนการผลิต
1. มีการขนย้ายผลิตภัณฑ์ที่ทำการผลิตจากกระบวนการหนึ่ง
ไปยังอีกกระบวนการหนึ่ง ซึ่งจะต้อง
เสีย
การวางผังโรงงานตามแบบชนิดของผลิตภัณฑ์
2.
การวางผังโรงงานตามชนิดของผลิตภัณฑ์ ( Product Layout
) เป็นการจัดผลิตให้เรียงตามลำดับ ขั้นตอน
การผลิตของผลิตภัณฑ์ การจัดผังโรงงานแบบนี้
บางทีเรียกว่าเป็นการจัดแบบเป็นแถว (Line
Layout) (โรงงานแบบนี้จะเป็นการผลิตสินค้าชนิดเดียว
หรือสินค้าหลายชนิดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
การดำเนินการผลิตมักจะเป็นการผลิตแบบต่อเนื่อง เช่น
การผลิตอาหารกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง
เบียร์ การผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทแก้ว
ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้ จะทำให้การจัดเครื่องจักรเครื่องมือทำได้อย่างไม่ยุ่งยาก
ผู้วางผังโรงงานสามารถกำหนดขั้นตอนการผลิต เพื่อให้การผลิตดำเนินการไปได้โดยที่ไม่มีการขนย้ายสินค้าย้อนทางเดิน
ในการวางผังโรงงาน แบบตามชนิดของผลิตภัณฑ์
วิธีการ คือ เราจัดเรียงเครื่องจักรให้เรียงกันไปตามขั้นตอนการผลิต โดยเริ่มจากวัตถุดิบไปถึงกระบวนการผลิตแต่ละหน่วยการผลิต จนสำเร็จเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จดังที่ แสดงไว้ในแผนภูมิที่ 2
รูปที่ 2 แสดงผังโรงงานแบบจัดตามชนิดของผลิตภัณฑ์
ข้อดีของการวางผังโรงงานแบบตามชนิดผลิตภัณฑ์
1. การควบคุมการจัดตารางผลิตทำได้ง่ายเนื่องจากเรารู้ขั้นตอนการผลิตที่แน่นอน
2. การขนย้ายวัสดุทำได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เนื่องจากระยะระหว่างจุดปฏิบัติการต่าง ๆ นั้น และไม่มีการขนย้ายวัตถุดิบย้อนทางเดิน
3. พื้นที่โรงงานใช้ทำประโยชน์ได้มากกว่า
4. ในการผลิตเป็นจำนวนมาก ๆ อัตราการใช้เครื่องจักรจะดีขึ้นและเครื่องจักรได้ทำงานอย่างเต็มที่
5. ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จที่คั่งค้าง ณ จุดปฏิบัติงานต่าง ๆ จะมีน้อยลง
6. เวลาที่เสียไปในการติดตั้งเครื่องจักรจะลดลง
7. ไม่จำเป็นต้องอบรม หรือให้ความรู้พนักงานบ่อย ๆ
8. ต้นทุนการผลิตต่อชิ้นจะถูกลง
9. การไหลของชิ้นงานผลิตจะเร็วขึ้น
10. การควบคุมงานผลิตจัดได้เป็นระบบมากกว่า
2. การขนย้ายวัสดุทำได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เนื่องจากระยะระหว่างจุดปฏิบัติการต่าง ๆ นั้น และไม่มีการขนย้ายวัตถุดิบย้อนทางเดิน
3. พื้นที่โรงงานใช้ทำประโยชน์ได้มากกว่า
4. ในการผลิตเป็นจำนวนมาก ๆ อัตราการใช้เครื่องจักรจะดีขึ้นและเครื่องจักรได้ทำงานอย่างเต็มที่
5. ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จที่คั่งค้าง ณ จุดปฏิบัติงานต่าง ๆ จะมีน้อยลง
6. เวลาที่เสียไปในการติดตั้งเครื่องจักรจะลดลง
7. ไม่จำเป็นต้องอบรม หรือให้ความรู้พนักงานบ่อย ๆ
8. ต้นทุนการผลิตต่อชิ้นจะถูกลง
9. การไหลของชิ้นงานผลิตจะเร็วขึ้น
10. การควบคุมงานผลิตจัดได้เป็นระบบมากกว่า
ข้อจำกัดของการจัดผังโรงงานตามชนิดผลิตภัณฑ์
1. จำนวนเงินทุนในการซื้อเครื่องมือเครื่องจักรสูง
2. การหยุดการผลิตของเครื่องจักรในหน่วยผลิต หน่วยใดหน่วยหนึ่ง กระบวนการผลิตจะหยุดทั้ง ระบบการผลิต
3. ยอดผลิตจะสูงและสม่ำเสมอ เพราะเครื่องจักร ผลิตชิ้นงานตลอดเวลาหากยอดขายลดลง จะส่งผลต่อระบบเงินทุนหมุนเวียนเป็นอย่างมาก
4. เป็นเรื่องลำบากมาก หากจะแยกเครื่องจักรในระบบผลิตที่เป็นปัญหาออกจากกระบวนการผลิต
5. การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจะส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนเครื่องมือเครื่องจักร ซึ่งการปรับ เปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแต่ละครั้ง ก็จะปรับเปลี่ยนทั้งสายการผลิตอย่างไรก็ตาม การวางผังโรงงานทั้งสองแบบคือ การวางผังการผลิตตามกระบวนการผลิต (Process Layout) และการวางผังการผลิตแบบตามชนิดผลิตภัณฑ์ (Product Layout) ต่างก็มีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่าง
2. การหยุดการผลิตของเครื่องจักรในหน่วยผลิต หน่วยใดหน่วยหนึ่ง กระบวนการผลิตจะหยุดทั้ง ระบบการผลิต
3. ยอดผลิตจะสูงและสม่ำเสมอ เพราะเครื่องจักร ผลิตชิ้นงานตลอดเวลาหากยอดขายลดลง จะส่งผลต่อระบบเงินทุนหมุนเวียนเป็นอย่างมาก
4. เป็นเรื่องลำบากมาก หากจะแยกเครื่องจักรในระบบผลิตที่เป็นปัญหาออกจากกระบวนการผลิต
5. การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจะส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนเครื่องมือเครื่องจักร ซึ่งการปรับ เปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแต่ละครั้ง ก็จะปรับเปลี่ยนทั้งสายการผลิตอย่างไรก็ตาม การวางผังโรงงานทั้งสองแบบคือ การวางผังการผลิตตามกระบวนการผลิต (Process Layout) และการวางผังการผลิตแบบตามชนิดผลิตภัณฑ์ (Product Layout) ต่างก็มีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่าง
การวางผังโรงงานแบบผสม
3.
การวางผังโรงงานแบบผสม (Mixed Layout) ในปัจจุบันโรงงานส่วนใหญ่จะใช้ระบบการวางผังโรงงานแบบผสม
กล่าวคือ ในแผนกซ่อมบำรุง (
Maintenance Engineer ) แผนกงานหล่อ งานเชื่อมทำแบบหล่อ(Mole Maintenance) จะวางผังเป็นแบบตามกระบวนการผลิต(
Process Layout ) ส่วนแผนกผลิตชิ้นงานหรือหล่อชิ้นงานจะใช้วิธีการวางผังโรงงานแบบตามชนิดของผลิตภัณฑ์
(Product Layout) ส่วนแผนกผลิตชิ้นงานหรือหล่อชิ้นงานจะใช้วิธีการวางผังโรงงานแบบตามชนิดของผลิตภัณฑ์
(Product Layout)แสดงดังรูปที่ 3 และ 4
รูปที่ 3 แผนภาพแสดงกรรมวิธีการผลิตซีเมนต์แบบผสมเหลว
ของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ใช้ใน
โรงงานบางซื่อ กรุงเทพฯ และโรงงานท่าหลวง สระบุรี
รูปที่ 4 แผนภาพแสดงกรรมวิธีการผลิตซีเมนต์แบบผสมแห้ง ของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย
จำกัด ใช้ในโรงงานทุ่งสง นครศรีธรรมราช
การวางผังโรงงานแบบตำแหน่งงานคงที่
การวางผังโรงงานแบบตำแหน่งงานคงที่ (fixed position layout) การจัดวางผังโรงงานแบบนี้จะยึดเอา
ส่วนประกอบหลักของงานเป็นหลักซึ่งมักจะมีขนาดใหญ่อยู่กับที่แล้วเคลื่อนย้าย ส่วนประกอบเครื่องจักร
อุปกรณ์ แรงงาน พร้อมวัสดุอุปกรณ์เข้าไปหาส่วนประกอบหลักเพื่อทำการผลิต เช่น โรงงานซ่อมสร้างเครื่องบิน
อู่ต่อเรือ สะพานหรือโครงสร้างขนาดใหญ่ที่เคลื่อนย้ายลำบากจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายการผลิตอื่นเข้าไปแทน
การวางผังแบบนี้เหมาะสำหรับการผลิตที่มีขนาดใหญ่ จำนวนการผลิตไม่มาก มักมีลักษณะเฉพาะตามความต้องการของลูกค้า
รายละเอียดดังแสดงในภาพที่ 5
รูปที่ 5 การวางผังโรงงานแบบชิ้นงานอยู่กับที่คงที่