วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การวางผังโรงงาน


การวางผังโรงงานตามแบบกระบวนการผลิต

1. ผังตามกระบวนการผลิต (Process Layout) เป็นการวางเครื่องจักรให้เป็นหมวดหมู่ตามลักษณะ
ของกระบวนการผลิต เช่น เครื่องตัด เครื่องปั๊ม เครื่องบรรจุหีบห่อ การวางผังตามกระบวนการนี้ สินค้าที่
ผลิตจะต้องเคลื่อนย้ายไปตามกระบวนการต่างๆ ตามขั้นตอนในการผลิตสินค้านั้น ดังภาพที่ 1 แสดงผัง
ตามกระบวนการผลิต ซึ่งเหมาะสำหรับการผลิตประเภทไม่ต่อเนื่อง หรือการผลิตตามคำสั่ง นอกจากการ
วางผังกระบวนการผลิตในโรงงานแล้ว ยังมีการวางผังตามกระบวนการผลิตที่พบโดยทั่วไป คือ
โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ธนาคาร และห้องสมุด โรงพยาบาลมีแผนกต่างๆ เช่นแผนกทันตกรรม แผนก
สูตินารีเวช แผนกอายุรเวช แผนกการเงิน แผนกจ่ายยา เป็นต้น ซึ่งคนไข้จะต้องไปตามแผนกต่างๆ ที่จะ
ให้บริการเองดังรูปที่1

แผนกจ่ายยา

แผนกทันตกรรม

แผนกอายุกรรม

แผนกจักรษุ

ประชาสัมพันธ์


แผนกจ่ายเงิน

แผนกสูตินารี

แผนกกุมารเวช

ห้องตรวจ  X - Ray

รูปที่ 1 แสดงผังโรงงานแบบกระบวนการผลิต

ข้อดีของการวางผังตามกระบวนการผลิต
1. สามารถใช้แรงงานคนและเครื่องจักรในแต่ละแผนกได้อย่างเต็มที่
2. ระบบการผลิตมีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิต หรือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ
ของผลิตภัณฑ์ หรือออกผลิตภัณฑ์ใหม่
3. ทำให้ลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์น้อยลง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมีหลายๆ ชนิดที่สามารถ
ใช้เครื่องมือ เครื่องจักรชนิดเดียวกัน
ข้อเสียของการวางผังโรงงานตามกระบวนการผลิต
1. มีการขนย้ายผลิตภัณฑ์ที่ทำการผลิตจากกระบวนการหนึ่ง ไปยังอีกกระบวนการหนึ่ง ซึ่งจะต้อง
เสีย
การวางผังโรงงานตามแบบชนิดของผลิตภัณฑ์
2.  การวางผังโรงงานตามชนิดของผลิตภัณฑ์  ( Product   Layout )    เป็นการจัดผลิตให้เรียงตามลำดับ ขั้นตอน การผลิตของผลิตภัณฑ์  การจัดผังโรงงานแบบนี้  บางทีเรียกว่าเป็นการจัดแบบเป็นแถว  (Line  Layout)   (โรงงานแบบนี้จะเป็นการผลิตสินค้าชนิดเดียว หรือสินค้าหลายชนิดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน การดำเนินการผลิตมักจะเป็นการผลิตแบบต่อเนื่อง  เช่น  การผลิตอาหารกระป๋อง  ผลไม้กระป๋อง  เบียร์  การผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทแก้ว  ฯลฯ  เป็นต้น  ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้  จะทำให้การจัดเครื่องจักรเครื่องมือทำได้อย่างไม่ยุ่งยาก  ผู้วางผังโรงงานสามารถกำหนดขั้นตอนการผลิต  เพื่อให้การผลิตดำเนินการไปได้โดยที่ไม่มีการขนย้ายสินค้าย้อนทางเดิน 
     ในการวางผังโรงงาน  แบบตามชนิดของผลิตภัณฑ์  วิธีการ  คือ  เราจัดเรียงเครื่องจักรให้เรียงกันไปตามขั้นตอนการผลิต  โดยเริ่มจากวัตถุดิบไปถึงกระบวนการผลิตแต่ละหน่วยการผลิต  จนสำเร็จเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จดังที่ แสดงไว้ในแผนภูมิที่ 2     











รูปที่ 2  แสดงผังโรงงานแบบจัดตามชนิดของผลิตภัณฑ์
ข้อดีของการวางผังโรงงานแบบตามชนิดผลิตภัณฑ์
 1.  การควบคุมการจัดตารางผลิตทำได้ง่ายเนื่องจากเรารู้ขั้นตอนการผลิตที่แน่นอน 
       2.  การขนย้ายวัสดุทำได้ในระยะเวลาสั้น ๆ  เนื่องจากระยะระหว่างจุดปฏิบัติการต่าง ๆ นั้น และไม่มีการขนย้ายวัตถุดิบย้อนทางเดิน
       3.  พื้นที่โรงงานใช้ทำประโยชน์ได้มากกว่า
       4.  ในการผลิตเป็นจำนวนมาก ๆ  อัตราการใช้เครื่องจักรจะดีขึ้นและเครื่องจักรได้ทำงานอย่างเต็มที่
        5.  ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จที่คั่งค้าง     จุดปฏิบัติงานต่าง ๆ จะมีน้อยลง  
        6.  เวลาที่เสียไปในการติดตั้งเครื่องจักรจะลดลง
        7.  ไม่จำเป็นต้องอบรม   หรือให้ความรู้พนักงานบ่อย ๆ
        8.  ต้นทุนการผลิตต่อชิ้นจะถูกลง
        9.  การไหลของชิ้นงานผลิตจะเร็วขึ้น
       10.  การควบคุมงานผลิตจัดได้เป็นระบบมากกว่า
                    ข้อจำกัดของการจัดผังโรงงานตามชนิดผลิตภัณฑ์
  1.  จำนวนเงินทุนในการซื้อเครื่องมือเครื่องจักรสูง
  2.  การหยุดการผลิตของเครื่องจักรในหน่วยผลิต  หน่วยใดหน่วยหนึ่ง  กระบวนการผลิตจะหยุดทั้ง ระบบการผลิต
  3.  ยอดผลิตจะสูงและสม่ำเสมอ  เพราะเครื่องจักร ผลิตชิ้นงานตลอดเวลาหากยอดขายลดลง  จะส่งผลต่อระบบเงินทุนหมุนเวียนเป็นอย่างมาก
  4.  เป็นเรื่องลำบากมาก  หากจะแยกเครื่องจักรในระบบผลิตที่เป็นปัญหาออกจากกระบวนการผลิต
  5.  การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจะส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนเครื่องมือเครื่องจักร  ซึ่งการปรับ เปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแต่ละครั้ง  ก็จะปรับเปลี่ยนทั้งสายการผลิตอย่างไรก็ตาม  การวางผังโรงงานทั้งสองแบบคือ  การวางผังการผลิตตามกระบวนการผลิต  (Process  Layout)  และการวางผังการผลิตแบบตามชนิดผลิตภัณฑ์  (Product  Layout)  ต่างก็มีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่าง 




การวางผังโรงงานแบบผสม
 3.  การวางผังโรงงานแบบผสม  (Mixed  Layout) ในปัจจุบันโรงงานส่วนใหญ่จะใช้ระบบการวางผังโรงงานแบบผสม  กล่าวคือ ในแผนกซ่อมบำรุง  ( Maintenance  Engineer )   แผนกงานหล่อ  งานเชื่อมทำแบบหล่อ(Mole Maintenance) จะวางผังเป็นแบบตามกระบวนการผลิต( Process   Layout )  ส่วนแผนกผลิตชิ้นงานหรือหล่อชิ้นงานจะใช้วิธีการวางผังโรงงานแบบตามชนิดของผลิตภัณฑ์  (Product  Layout)  ส่วนแผนกผลิตชิ้นงานหรือหล่อชิ้นงานจะใช้วิธีการวางผังโรงงานแบบตามชนิดของผลิตภัณฑ์  (Product  Layout)แสดงดังรูปที่  3 และ 4

http://guru.sanook.com/picfront/sub/491__11122006100541.jpg

รูปที่ 3 แผนภาพแสดงกรรมวิธีการผลิตซีเมนต์แบบผสมเหลว ของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ใช้ใน        โรงงานบางซื่อ กรุงเทพฯ และโรงงานท่าหลวง สระบุรี









http://guru.sanook.com/picfront/sub/491_2_11122006100541.jpg

รูปที่  4 แผนภาพแสดงกรรมวิธีการผลิตซีเมนต์แบบผสมแห้ง ของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ใช้ในโรงงานทุ่งสง นครศรีธรรมราช


















การวางผังโรงงานแบบตำแหน่งงานคงที่

การวางผังโรงงานแบบตำแหน่งงานคงที่ (fixed position layout) การจัดวางผังโรงงานแบบนี้จะยึดเอา ส่วนประกอบหลักของงานเป็นหลักซึ่งมักจะมีขนาดใหญ่อยู่กับที่แล้วเคลื่อนย้าย ส่วนประกอบเครื่องจักร อุปกรณ์ แรงงาน พร้อมวัสดุอุปกรณ์เข้าไปหาส่วนประกอบหลักเพื่อทำการผลิต เช่น โรงงานซ่อมสร้างเครื่องบิน อู่ต่อเรือ สะพานหรือโครงสร้างขนาดใหญ่ที่เคลื่อนย้ายลำบากจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายการผลิตอื่นเข้าไปแทน การวางผังแบบนี้เหมาะสำหรับการผลิตที่มีขนาดใหญ่ จำนวนการผลิตไม่มาก มักมีลักษณะเฉพาะตามความต้องการของลูกค้า รายละเอียดดังแสดงในภาพที่ 5











รูปที่  5 การวางผังโรงงานแบบชิ้นงานอยู่กับที่คงที่

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก